เขียนนวนิยายและเรื่องสั้น เขียนฝันให้มีชีวิต
📗 “เขียนนวนิยายและเรื่องสั้น เขียนฝันให้มีชีวิต” คู่มือสอนเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นโดยนักเขียนมืออาชีพตัวจริง
เนื้อๆ เน้นๆ ครบถ้วน เจาะลึก ไม่ซ้ำใคร แชร์ประสบการณ์ไม่มีกั๊ก ในจำนวนหน้าหนาจุใจกว่า 376 หน้า เหมาะสำหรับทั้งนักหัดเขียน นักเขียนมือใหม่ นักเขียนที่มีผลงานมาแล้ว หรือแม้แต่นักอ่านทั่วไปที่สนใจงานวรรณกรรม
หนังสือเล่มนี้เขียนจากประสบการณ์จริงของ…
✒️ นักเขียนอาชีพที่อยู่ได้ด้วยการเขียนนวนิยาย/เรื่องสั้นมากว่า 20 ปี
✒️ นักเขียนที่ได้รับรางวัลทางวรรณกรรมระดับชาติมากที่สุดรวม 33 รางวัล
✒️ นักเขียนที่ทำยอดขายหนังสือเป็นเงิน 6 หลักต่อเดือนมาตลอด 3 ปีหลังสุด
✒️ นักเขียนที่ทำหนังสือเองได้ทุกขั้นตอน ทั้งเขียน จัดหน้า ออกแบบปก
✒️ นักเขียนที่ไม่มีเคยมีอาชีพอย่างอื่น นอกจากเขียนหนังสือ!
สารบัญ
บทที่ 1 เรื่องควรรู้ก่อนคิดจะเขียนนวนิยาย/เรื่องสั้น
● ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาทำไม
● หนังสือเล่มนี้ช่วยให้คุณเป็นนักเขียนได้หรือไม่
● มนุษย์ประเภทไหนเหมาะจะเป็นนักเขียน
● ตั้งเป้าหมายผิดชีวิตก็ยากจะสำเร็จ
● นักเขียนจะอยู่อย่างไรในยุค AI ครองโลก
● เครื่องมือใช้เขียนต้นฉบับก็สำคัญ
● ช่องทางสร้างรายได้จากงานเขียน
บทที่ 2 รู้จักนวนิยายและเรื่องสั้นให้มากขึ้น
● นิยามความหมายของ “นวนิยาย” และ “เรื่องสั้น”
● “นวนิยาย” กับ “เรื่องสั้น” ต่างกันตรงไหนบ้าง
● “นวนิยาย” กับ “นิยาย” ต่างกันอย่างไร
● ความหมายของคำว่า “วรรณกรรม”
● นวนิยายกับเรื่องสั้นเริ่มเขียนอะไรก่อนดี
บทที่ 3 โครงเรื่อง…สารตั้งต้นของเรื่องเล่า
● เรื่องราว, โครงเรื่อง และเหตุการณ์
● ตัวอย่างของเรื่องราว, โครงเรื่อง และเหตุการณ์
● โครงเรื่องกับทักษะการเล่าเรื่อง
● โครงเรื่องของนวนิยายกับเรื่องสั้น
● เราจะหาโครงเรื่องได้จากที่ไหน
● โครงเรื่องที่ดีควรเป็นแบบไหน
● เขียนนวนิยาย/เรื่องสั้นโดยไม่คิดโครงเรื่องได้ไหม
บทที่ 4 สร้างตัวละครให้มีชีวิตและจิตใจ
● ตัวละครในนวนิยาย/เรื่องสั้นสำคัญแค่ไหน
● เขียนนวนิยาย/เรื่องสั้นโดยไม่มีตัวละครได้ไหม
● ตัวละครในนวนิยายกับตัวละครในเรื่องสั้น
● ประเภทของตัวละครในนวนิยาย/เรื่องสั้น
● การตั้งชื่อให้ตัวละคร
● การใช้บุรุษสรรพนามเรียกขานตัวละคร
● วิธีสร้างตัวตนของตัวละครขึ้นมา
● แนะนำตัวละครให้แนบเนียน
บทที่ 5 กลวิธีการเล่าเรื่องและสำนวนภาษา
● ตัวละครที่เล่าเรื่องกับตัวตนของนักเขียน
● เลือกมุมมองในการเล่าเรื่องให้เหมาะ
– มุมมองตัวละครในเรื่อง
– มุมมองผู้เล่าเรื่องภายนอก
● ตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับมุมมองการเล่าเรื่อง
● เทคนิคเปิดเรื่องให้น่าสนใจ
● ทางเลือกในการจบเรื่องให้ประทับใจ
● เล่นกับลำดับเวลาในเหตุการณ์
● สลับ “ซีน” ในเรื่องเล่าเพื่อกระตุ้นเร้าความสนใจ
● ใช้สำนวนภาษาให้สละสลวยสวยงาม
● สำนวนภาษาเฉพาะตัวของนักเขียน
บทที่ 6 เทคนิคเขียนบทบรรยายและบทสนทนา
● บทบรรยายกับบทสนทนาต่างกันอย่างไรบ้าง
● เขียนบทบรรยายอย่างไรให้อ่านง่าย
● การบรรยาย “ฉาก” ในนวนิยาย/เรื่องสั้น
● หลายวิธีในการเขียนบทสนทนา
● เลือกระดับภาษาที่ใช้ให้เหมาะสม
● เขียนบทสนทนาให้เหมือนมืออาชีพ
บทที่ 7 ลงมือเขียนงานจริงกันเลยดีกว่า
● ตังอย่างเหตุการณ์ก่อนเป็นโครงเรื่อง
● แนะเทคนิคตั้งชื่อเรื่อง
● ถึงเวลาลงมือเขียนงานจริง
● เขียนนวนิยาย/เรื่องสั้นเสร็จแล้วทำอย่างไรต่อ
● แรงบันดาลใจเราสร้างได้เอง
คำนำสำนักพิมพ์
เทียบกับหนังสือ “คนเขียนหนังสือมืออาชีพ” ซึ่งสำนักพิมพ์ของเราจัดพิมพ์ออกไปก่อนหน้านี้แล้ว หนังสือ “เขียนนวนิยายและเรื่องสั้น เขียนฝันให้มีชีวิต” เล่มนี้ มีเนื้อหาแตกต่างออกไปอย่างชัดเจน
“คนเขียนหนังสือมืออาชีพ” จะเน้นสอนให้ผู้อ่านรู้วิธีพัฒนาทักษะการเขียนของตัวเองโดยรวม แม้จะมีเนื้อหาส่วนที่ว่าด้วยฟิกชัน (Fiction) หรือเรื่องแต่งอย่างนวนิยายและเรื่องสั้นอยู่ด้วย แต่ก็ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดมากนัก
ผิดกับ “เขียนนวนิยายและเรื่องสั้น เขียนฝันให้มีชีวิต” เล่มนี้ นักเขียนของเราได้แบ่งปันกลเม็ดเคล็ดลับที่ตัวเองใช้สร้างสรรค์งานเขียน และประสบการณ์ในการคิด-เขียนนวนิยาย/เรื่องสั้นชนิดเจาะลึกทุกรายละเอียดและรอบด้านทุกแง่มุม มีการแนะนำเทคนิคขั้นสูงซึ่งหาอ่านไม่ได้จากหนังสือเล่มไหน มีกลวิธีร้อยแปดที่คุณไม่อาจเรียนรู้ได้จากคอร์สออนไลน์ของใคร และมีตัวอย่างงานจริงให้ศึกษาเปรียบเทียบอย่างเป็นรูปธรรม
หนังสือเล่มนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นคู่มือสอนเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นที่มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ไม่เหมือนใคร อีกทั้งกลั่นมาจากประสบการณ์ตรงของนักเขียนมืออาชีพตัวจริง
ทั้งนี้ ต่อให้คุณไม่ใช่คนที่สนอกสนใจในการเขียนนวนิยาย/เรื่องสั้น แต่เป็นเพียงนักอ่านธรรมดาสามัญคนหนึ่ง คุณก็อ่านหนังสือเล่มนี้ได้อยู่ดี เพราะผู้เขียนเขียนเล่าเรื่องราวออกมาให้อ่านง่าย อ่านสนุก มีตัวอย่างงานเขียนให้ได้อ่านได้ขบคิด
ในส่วนของการพูดถึงเทคนิคเขียนนวนิยายและเทคนิคเขียนเรื่องสั้น แม้ส่วนใหญ่แล้วผู้เขียนจะอธิบายรวมกันไป เนื่องจากนวนิยายและเรื่องสั้นเป็นงานวรรณกรรมที่มีจุดเหมือนมากกว่าจุดต่าง แต่กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ลืมเน้นจุดต่างของงานวรรณกรรมทั้งสองประเภทให้เด่นชัดแยกต่างหากจากกัน
ฉะนั้นสำหรับคนที่สนใจเขียนแค่นวนิยายอย่างเดียว หรือสนใจเขียนเรื่องสั้นเพียงประเภทเดียว หนังสือเล่มนี้ก็ทำหน้าที่เป็นคู่มือชั้นดีให้คุณสามารถเขียนงานวรรณกรรมประเภทนั้น ๆ ออกมาได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้นแน่นอน
สำนักพิมพ์ของเรากล้าเอาหัวเป็นประกัน!
คำนำผู้เขียน
การเขียนนวนิยายและเรื่องสั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมไปแล้ว…เป็นมานานแล้ว…
ผมเขียนหนังสือเหมือนเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่งของชีวิต เขียนแทบทุกวัน ไม่ใช่เขียนเพียงเพราะเป็นอาชีพเท่านั้น ทว่ายังเขียนด้วยความรักและความสุข
ในความรู้สึกนึกคิดของผม การเขียนนวนิยาย/เรื่องสั้นไม่ต่างอะไรจากการกินข้าว อาบน้ำ หลับนอน หายใจ อาจผิดแผกกันก็แค่ว่า ในขณะกินข้าวกินปลา อาบน้ำอาบท่า พักผ่อนนอนหลับ หรือหายใจเข้าออก ผมไม่ได้มีความสุขเท่ากับตอนเขียนหนังสือ
ทุกวันนี้ผมอาจใช้เวลาอยู่กับตัวละครในเรื่องเล่า มากกว่าอยู่กับภรรยาและลูกสาวด้วยซ้ำ ยามนั่งลงเขียนหนังสือ ผมจมตัวเองอยู่ในโลกอีกใบ เป็นโลกแสนงามแห่งเรื่องเล่าซึ่งเหล่าตัวละครล้วนเคลื่อนไหว มีชีวิต หัวเราะได้ ร้องไห้เป็น
ในบางครั้งบางหน โลกจริงภายนอกไม่ได้สวยงามอย่างหวัง มีปัญหาสารพัดถาโถมเข้ามาให้ครุ่นเครียด แต่โลกแห่งเรื่องเล่าภายในยังคงงดงาม เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวา และมีแรงดึงดูดอันน่าประหลาดสำหรับผมเสมอ
แม้หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นวนิยายหรือรวมเรื่องสั้น แต่ผมก็เขียนมันขึ้นมาอย่างตั้งอกตั้งใจ หวังใจไว้ว่าประสบการณ์แต่ละย่างก้าวที่ผมสืบเท้าไปบนถนนนักเขียนตลอดห้วงระยะเวลาราว 25 ปีที่ผ่านมา จะพอมีประโยชน์ต่อผู้ที่คิดก้าวตามมาเบื้องหลังอยู่บ้าง…
ตัวอย่างหนังสือ